in

หมวกนิรภัย ประเภท และ สี ที่ต้องรู้ก่อนใช้งาน

หมวกนิรภัย

      หมวกนิรภัย ภาษาอังกฤษ Helmet หรือ Safety Helmet เป็นเครื่องแต่งกายหรืออุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยอย่างหนึ่ง ใช้สวมเพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดกับศีรษะในสถานการณ์ต่างๆ ซึ่งมีความเสี่ยงสูง เช่น ในพื้นที่ก่อสร้าง คลังสินค้าขนาดใหญ่ พื้นที่อุบัติเหตุ หรือพื้นที่ภัยพิบัติ และยังใช้ในอาชีพต่างๆ เช่น นักโบราณคดี นักสำรวจ นักดับเพลิง ช่างฝีมือต่างๆ ช่างในโรงงาน หรือช่างในงานอุตสาหกรรมบางอย่าง เป็นต้น


ประเภทของ หมวกนิรภัย

      1. หมวกนิรภัย มาตรฐานงานอุตสาหกรรม (Standard Industrial Helmet)

      เรียกอีกอย่างว่า หมวกแข็ง สำหรับใช้ในอุตสาหกรรมทั่วไป เช่น โรงงานการผลิต โกดังสินค้า หรืองานภายในอาคาร ผลิตจากโพลีเอทีลีนความหนาแน่นสูง (HDPE) หรือโพลีคาร์บอเนต ซึ่งทนต่อการกระแทกและเจาะทะลุได้ กระจายแรงกระแทกได้ดี และกันสั่นสะเทือน สามารถป้องกันศีรษะของผู้สวมใส่จากวัตถุที่อาจตกลงมาจากที่สูง หรือศีรษะไปกระแทกใส่วัตถุที่อยู่นิ่ง โครงสร้างภายในยกสูง จึงระบายอากาศได้ดี

      บางรุ่นอาจมีที่ป้องกันหู ช่องติดตั้งเฟซชิดล์ (หน้ากาก) ที่ติดไฟฉาย หรืออาจมีปีกหน้ายื่นออกมาเพื่อกันแดด โดยจะมีให้เลือกหลายสี ตามบทบาทของงานที่เหมาะสม

หมวกนิรภัย มาตรฐานโรงงาน

      2. หมวกนิรภัย งานไฟฟ้า (Electrical Safety Helmet)

      สำหรับช่างไฟฟ้าโดยเฉพาะ ทำจากวัสดุที่ไม่นำไฟฟ้า เช่น ไฟเบอร์กลาสเสริมแรง หรือ โพลีเอทิลีนความหนาแน่นสูง ลดความเสี่ยงเรื่องไฟฟ้าช็อต มีระบบกันกระแทกและลดแรงสั่นสะเทือนเหมือนกับ หมวกนิรภัย มาตรฐาน

      หมวกนิรภัย งานไฟฟ้าต้องผ่านมาตรฐานการผลิตที่เข้มงวดกว่า หมวกนิรภัย ทั่วไป เพื่อรับรองว่า หมวกนิรภัย นั้นสามารถทนแรงดันไฟฟ้าสูง 20,000 โวลต์ได้ และต้องดูแลรักษาอย่างถูกวิธี เพราะความเสื่อมสภาพของหมวกจะส่งผลให้ความสามารถป้องกันไฟฟ้าลดลง

หมวกนิรภัย งานไฟฟ้า

      3. หมวกนิรภัย นักผจญเพลิง (Firefighter Helmet)

      เป็น หมวกนิรภัย เฉพาะงานเพราะออกแบบมาให้มีคุณสมบัติป้องกันอันตรายของนักผจญเพลิงโดยเฉพาะ ไม่ว่าจะเป็นไฟ ควัน ความร้อนสูง เศษซากที่อาจตกลงมา หรือก๊าซที่อาจรั่วไหล โดยผลิตจากวัสดุทนความร้อน เช่น ไฟเบอร์กลาส เทอร์โมพลาสติก หรือเคฟล่าร์ ซึ่งยังมีความแข็งแรงสูง ป้องกันการกระแทก และมีซับในป้องกันความร้อนด้วย

      หมวกนิรภัย นักผจญเพลิงส่วนมากจะมีหน้ากากป้องกันควันไฟและความร้อนให้ใบหน้าและลำคอ เพื่อความปลอดภัยของดวงตา และช่วยให้ทัศนะวิสัยถูกรบกวนน้อยที่สุด และมีจุดติดตั้งไฟฉายหรืออุปกรณ์เสริมต่างๆ และอาจจะมีแถบสะท้อนแสงติดอยู่ด้วย

      หมวกนิรภัย นักผจญเพลิงต้องมีการควบคุมมาตรฐานที่เข้มงวดในเรื่องการป้องกันไฟ เช่น NFPA (National Fire Protection Association) ซึ่งมีการกำหนดประสิทธิภาพการต้านทานความร้อน การป้องกันแรงกระแทก การมองเห็น และปัจจัยสำคัญอื่นๆ อีกหลายข้อ

หมวกนิรภัย นักดับเพลิง

      4. หมวกนิรภัย งานเหมืองแร่ (Mining Helmet)

      เป็นหมวกแข็งสำหรับคนที่ต้องทำงานขุดเหมืองหรืองานในอุโมงค์และใต้ดินโดยเฉพาะ มักใช้ในงานขุดเหมืองเป็นส่วนมาก จึงเรียกว่า หมวกนิรภัย งานเหมืองแร่ หรือ หมวกนิรภัย งานขุด ทำจากวัสดุที่ทนทาน เช่น ไฟเบอร์กลาส หรือ โพลีคาร์บอเนต สามารถป้องกันหิน ดิน หรือเศษซากต่างๆ ที่อาจหล่นใส่ศีรษะได้

      จุดสังเกตที่ชัดเจนของ หมวกนิรภัย งานเหมืองแร่ คือการติดตั้งระบบให้ความสว่างหรือไฟฉายที่ดีกว่าประเภทอื่น ด้านในหมวกมีการระบายอากาศที่ดี เพราะในอุโมงค์อากาศถ่ายเทน้อย ร่างกายจึงสะสมความร้อนมากกว่าสภาวะปกติ 

      5. หมวกนิรภัย Bump Cap 

      หมวกนิรภัย สำหรับการป้องกันอันตรายเล็กๆ น้อยๆ หรือของที่ไม่หนักมาก เช่น ลูกบอล ลักษณะจะคล้ายหมวกเบสบอล ทำจากพลาสติกแข็ง ด้านนอกเรียบ สามารถใส่ซ้อนไว้ข้างในหมวกแก็ปได้ นักกีฬาที่ลงสนามจึงมักสวมใส่ นอกจากนี้ก็ยังใช้ในโกดัง โรงงานแปรรูปอาหาร แผนกผลิต หรือแผนกติดตั้งในพื้นที่ความเสียงต่ำ เป็นต้น

หมวกนิรภัย bump cap

      6. หมวกนิรภัย ทัศนะวิสัยสูง (High Visibility Helmet)

      หรือ หมวกนิรภัย Hi-vis ทำให้ผู้อื่นสามารถมองเห็นผู้สวมใส่ได้ในภาวะแสงน้อยหรือทัศนะวิสัยแย่ เช่น งานก่อสร้างตอนกลางคืน งานซ่อมแซมถนน การควบคุมการจาราจร ซึ่ง หมวกนิรภัย จะทำจากสีพิเศษนอกจากสีมาตรฐาน เช่น สีเหลืองฟลูออเรสเซนต์ สีส้มนีออน สีเขียวมะนาว และยังอาจมีการติดแถบสะท้อนแสงด้วย เพื่อให้แน่ใจว่าผู้สวมใส่จะถูกมองเห็นได้อย่างโดดเด่น ป้องกันไม่ให้ถูกขับรถชน

หมวกนิรภัย Hi-vis

      7. หมวกนิรภัย งานป่าไม้ (Forestry Helmet)

      หมวกนิรภัย ที่ออกแบบมาสำหรับคนที่ทำงานด้านอุตสาหกรรมป่าไม้โดยเฉพาะ เช่น คนตัดไม้ คนขนไม้ คนตัดแต่งกิ่งไม้สูง เป็นต้น หลายคนอาจคาดไม่ถึงว่างานเหล่านี้มีความเสี่ยงหลายประการ ทั้งเศษไม้กระเด็น กิ่งไม่ร่วง กิ่งไม้หัก ดังนั้น จึงต้องป้องกันศีรษะให้ดี บางครั้งก็อาจมีหน้ากากป้องกันใบหน้าและดวงตาด้วย ซึ่งช่วยได้มากตอนใช้เลื่อยยนต์ บางรุ่นก็อาจมีหูฟังติดมาในตัว เพิ่มความสะดวกในการใช้งานมากขึ้น

หมวกนิรภัย งานป่าไม้

      8. หมวกนิรภัย งานฉุกเฉิน กู้ภัย (Rescue Helmet)

      ทีมกู้ภัยหรือหน่วยค้นหาเป็นอาชีพที่ต้องพร้อมรับมือกับความเสี่ยงทุกสถานการณ์อยู่เสมอ หมวกนิรภัย ที่ใช้จึงต้องรองรับแรงกระแทกได้สูงมาก และต้องอำนวยการสื่อสารด้วย เพราะทีมต้องสื่อสารกันอยู่ตลอดเวลา ถ้ามีที่ติดตั้งไฟฉายด้วยก็ยิ่งสะดวก เนื่องจากเหตุฉุกเฉินเกิดขึ้นได้ทั้งกลางวันและกลางคืน ในที่แคบหรือมืดก็ได้เช่นกัน และการสวมใส่ก็ต้องแน่นกับศีรษะ ไม่หลุดง่าย จึงมีสายรัดคางเพิ่มเติมจาก หมวกนิรภัย ประเภทอื่น 

หมวกนิรภัย งานกู้ภัย

      9. หมวกนิรภัย กิจกรรมโลดโผน (Climbing and Mountaineering Helmet)

      ใช้สำหรับป้องกันการกระแทกที่ไม่รุนแรงมาก คล้ายกับ Bump Cap แต่มีสายรัดคางเพื่อให้ หมวกนิรภัย ไม่หลุดออกจากศีรษะระหว่างทำงานหรือทำกิจกรรมต่างๆ เช่น เล่นกีฬาเอ็กซ์ตรีม ปีนเขา กิจกรรมแอดแวนเจอร์ตามป่าเขา ล่องแก่ง เล่นบอร์ด ปั่นจักรยาน เป็นต้น

      หมวกนิรภัย ประเภทนี้จะเบาและใส่สบาย เพราะต้องใส่ติดต่อกันหลายชั่วโมง วัสดุแข็งแรง กระจายและลดแรงกระแทก รองรับศีรษะได้ดี ภายในมีการบุโฟม ด้านหน้าของหมวกอาจติดไฟฉายหรือกล้องได้ด้วย 

หมวกนิรภัย กิจกรรมกีฬาและโลดโผน

      10. หมวกนิรภัย ทหาร (Military Helmet)

      เป็น หมวกนิรภัย ประเภทที่แข็งแรงที่สุด เพราะต้องรองรับแรงจากขีปณาวุธต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเศษกระสุน ลูกกระสุน และเศษซากวัตถุระเบิด โครงสร้างภายในมีหลายชั้น แข็งแรง ภายนอกผลิตจากเคฟลาร์หรือเส้นใยขีปณาวุธบางอย่าง ด้านในสุดบุนวมเพื่อดูดซับแรงกระแทก ลดความเสียหายรุนแรงที่อาจเกิดกับศีรษะ


สีของ หมวกนิรภัย กับการใช้งาน

      สีของ หมวกนิรภัย เป็นข้อบังคับที่ควรใช้ให้ถูกในงานประเภทต่างๆ ซึ่งมีหลายสีด้วยกัน ดังนี้

หมวกนิรภัย สีต่างๆ

      1. หมวกนิรภัย สีเหลือง

สำหรับคนงานที่ทำงานหนัก (Heavy Duty) เช่น ขนดิน ก่อสร้าง โดยเป็นคนงานทั่วไปที่ไม่ได้มีหน้าที่พิเศษอื่นๆ

      2. หมวกนิรภัย สีขาว

สำหรับคนที่เป็นหัวหน้างาน ผู้จัดการ สถาปนิก วิศวกร หรือตำแหน่งอื่นๆ ที่มีอำนาจสั่งการอย่างใดอย่างหนึ่ง

      3. หมวกนิรภัย สีส้ม

สำหรับคนชี้ทาง บอกทิศทาง หรือคนทำงานที่เกี่ยวข้องกับถนน อยู่ใกล้ๆ ถนน เช่น คนกวาดถนน ตำรวจจราจร คนควบคุมเครื่องจักร เป็นต้น

      4. หมวกนิรภัย สีแดง

สำหรับนักดับเพลิงหรือหน่วยกู้ภัยฉุกเฉิน

      5. หมวกนิรภัย สีน้ำเงิน

สำหรับช่างไม้ ช่างไฟ ช่างเทคนิคเฉพาะงาน หรือคนงานชั่วคราว

      6. หมวกนิรภัย สีน้ำตาล

สำหรับช่างเชื่อมหรือคนที่ทำงานใกล้อุปกรณ์ที่มีความร้อนสูง เช่น เตาหลอม เตาเผา ไซโล เป็นต้น

      7. หมวกนิรภัย สีเขียว

สำหรับคนที่มีหน้าที่ตรวจสอบความปลอดภัยในสถานที่ทำงาน หรือเจ้าหน้าที่ฝึกอบรม และพนักงานฝึกหัด

      8. หมวกนิรภัย สีเทา

สำหรับคนที่เยี่ยมชมไซต์งานชั่วคราว บางครั้งอาจดูคล้ายสีขาวเพราะโทนค่อนข้างอ่อน

      9. หมวกนิรภัย สีชมพู

เป็นสีทางเลือกที่ไม่ได้บังคับใช้ จึงเป็นสีที่ใช้หรือไม่ใช้ก็ได้ เอาไว้สำหรับพนักงานหรือคนงานหญิง


Written by aoily

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

คีมปากจิ้งจก

10 คีมปากจิ้งจก ปากแต่ละชนิด แตกต่างกันอย่างไร?

ใบเลื่อยจิ๊กซอ

มาดูความแตกต่างระหว่าง ใบเลื่อยจิ๊กซอ กับ ใบเลื่อยชัก กัน!